ต้นกำเนิดของไวรัส โควิด ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ทราบกัน เริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกำเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของการระบาดในระยะเริ่มแรก โรคโควิด – 19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่ระบาดใหญ่เป็นวงกว้าง ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรค Covid-19 แล้วกว่า 100 ล้านราย และเสียชีวิตกว่า 2 ล้านราย (ร้อยละ 2) สำหรับประเทศไทย แม้จะมีการป้องกันและควบคุมโรคโค วิด-19 อย่างเข้มแข็งก็พบการติดเชื้อสูงถึงกว่า 25,000 ราย
การแพร่เชื้อ โควิด-19
- โรค โควิด ล่าสุด นี้โดยหลักแล้ว แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจาก จมูก หรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการ
- หายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้น แล้วมาจับตามใบหน้า
- ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะฟักตัว) มีตั้งแต่ 1 – 14 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 6 วัน เกิน 97 % ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการ ภายใน 14 วัน
- การเพิ่มจำนวนของไวรัส เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบน และในปอด มีงานวิจัยในช่วงแรกระบุว่า การเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ในระบบทางเดินอาหาร แต่การติดต่อโดยระบบทางเดินอาหารยังไม่เป็นนที่ยืนยัน
- อาการ โควิด ช่วงพึคของการแพร่เชื้อ น่าจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่แสดงอาการ และลดลงหลังจากนั้น การแพร่เชื้อก่อนนแสดงอาการ อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีอาการไอ slot กลไกหลักในการขับไวรัสออกมา อาจจำกัดการแพร่เชื้อในช่วงนั้น
เหตุการณ์ระบาดเป็นวงกว้าง
- การชุมนุมขนาดใหญ่
- ประชากรสูงอายุ
- ประชากรไร้ถิ่นฐาน
- โควิด ทําลายปอด
- การสัมผัสโรคจากต่างประเทศ
- คความหนาแน่นของเขตเมือง
- ระบบสาธารณสุขไม่เข้มแข็ง
- รัฐบาลขาดความโปร่งใส
- สื่อขาดเสรีภาพ
อัตราการแพร่เชื้อ และความรุนแรง
- Basic Reproductive Rate (R0) คือ ค่าเฉลี่ยที่ผู้ป่วย 1 คนจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในกลุ่มประชากรที่มีความไวต่อการรับเชื้อ ค่า R0 ของโรคโควิด19 อยู่ที่ประมาณ 2 และ 4
- Clinical Onset Interval คือ ช่วงเวลาแสดงอาการในผู้ป่วยรายต่อ ๆ กันในห่วงโซ่ของการแพร่ระบาด ในงานวิจัยส่วนใหญ่ เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 4 และ 5 วัน
- Case Fatality Ratio (CFR) หรืออัตราการเสียชีวิต คือ สัดส่วนของผู้ป่วยที่ถึงแก่ชีวิตอัตราคร่าว ๆ ของทั่วโลกอยู่ที่ 7% (ธันวาคม 2019 – พฤษภาคม 2020)
ป้องกันการติดเชื้อ และแพร่เชื้อ
- โควิด ขอนแก่น สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ยกเว้นในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือหากเห็นว่ามือสกปรกก็ควรล้างด้วยน้ำกับสบู่เป็นระยะเวลา 20 วินาที
- เวลาไอ จาม ควรใช้ทิชชูปิดปาก และจมูก หลังจากนั้นนำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิด ถ้าไม่มีทิชชูให้ใช้ข้อศอกและต้นแขนด้านในแทน หลังจากนั้นล้างมือให้สะอาด
- เว้นระยะห่างทางสังคม อย่างน้อย 1 – 2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือ
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับคนที่มีอาการป่วย
- งดหอมแก้มหรือสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กโดยไม่จำเป็น
- แม้จะเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ก็ควรป้องการติดเชื้อ และแพร่เชื้อโควิด – 19 ด้วยเช่นกัน
- กินอาหารปรุงร้อน สดใหม่ และใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
มาตราการทางสาธารณสุข
- การกักตัว การจำกัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือการแยกผู้ที่ไม่ป่วย แต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย Co – vid 19 จุดประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในห้วงเวลาที่คนเริ่มมีอาการ
- การแยกกัก การแยกผู้ป่วยที่มีอาการของ Co-vid และอาจแพร่เชื้อได้ จึงทำเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ แพร่ระบาดของไวรัส
- การเว้นระยะ เป็นการอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามียโลกแนะนำให้เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตร จากผู้อื่น ส่วนนี้เป็นมาตรการทั่วไปที่ทุกคนควรคำนึงแม้ว่าจะแข็งแรงดี
- การติดตามผู้สัมผัสโรค ทำเพื่อระบุหาคนที่อาจมีประวัติสัมผัสโรค เพื่อที่จะแยกกันออกไปโดยเร็ว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม
- การระบาดไปทั่วในวงกว้างของโรคโควิด19 และวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์นี้ ทําให้เกิดความท้าทายใหญ่หลวงในระดับโลก และ ระดับท้องถิ่ น
- ผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทุกกลุ่ม แต่บ่อน ทําลายกลุ่มประชากรเปราะบางมากที่สุด ซึ่งรวมถึง คนยากจน ผู้สูงอายุผู้พิการ เยาวชน และกลุ่มคนชาติพันธุ์
- วิกฤตทางโรคระบาดและเศรษฐกิจกระทบต่อกลุ่มประชากรเปราะบางอย่างไม่ เป็นธรรม ซึ่งอาจจุดชนวนให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน และความยากจนมากขึ้น
- วิกฤตโลกในครั้งนี้ต้องการการประสานงาน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และ นโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมและสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่